Saturday 22 November 2014

โครงการออกแบบกราฟิกสำหรับบรรจุภัณฑ์คู่แข่งของสินค้า แชมพูสมุนไพรสูตรว่านหางจระเข้ผสมมะกรูด

ส.1 สืบค้นข้อมูล(Research)



ส.2 สมมุติฐาน (Resume)
แนวคิดการพัฒนารูปแบบ
จากผลิตภัณฑ์แชมพูสมุนไพรว่านหางจระเข้ผสมมะกรูด ตราบ้านท่าทราย ยังไม่ได้รับการพัฒนา และมีรูปแบบที่ไม่โดดเด่น รูปทรงของบรรจุภัณฑ์ไม่ทันสมัย ภาพประกอบไม่มีความชัดเจน โลโก้สินค้ายังไม่มีความสอดคล้องกับตัวผลิตภัณฑ์ ทำให้ไม่เป็นที่สะดุดตา ซึ่งอาจเกิดผลกระทบต่อการจำหน่าย  
จากปัญหาที่กล่าวมา ผู้ค้นคว้าวิจัยจึงมีการออกแบบพัฒนาตราสัญลักษณ์ผลิตภัณฑ์ และบรรจุภัณฑ์ใหม่ ดังแนวคิดดังต่อไปนี้

อัตลักษณ์ Logo
สบายแฮร์(SABUY HAIR)
อัตลกษณ์สบายแฮร์นั้นสื่อความหมายถึง เส้นผมที่พริ้วไหว โดยใช้สัญลักษณ์ตัวตนของผู้หญิง มาเพิ่มความอ่อนช้อย โดยใช้โทนสีขาว-ดำ มีทั้งหมด6รูปแบบ

ส3.สรุปผลการออกแบบ(Result)

Tuesday 23 September 2014

ความหมาย OTOP: OTOP Meaning

  • OTOP ย่อมาจาก One Tambon One Product 
  • "หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์" 
โครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ หรือเรียกชื่อย่อๆว่า โอทอป (OTOP) เป็นอีกหนึ่งโครงการที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อมากระตุ้นธุรกิจประกอบการที่เกี่ยวข้องในท้องถิ่น ซึ่งโครงการดังกล่าวมีเป้าหมายที่จะสนับสนุนผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะเฉพาะตัว ผลิตและจำหน่ายในท้องถิ่น ในแต่ละตำบล โดยได้รับแรงบันดาลใจมาจากโครงการหนึ่งหมู่บ้านหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OVOP) ที่ประสบความสำเร็จของประเทศญี่ปุ่น โครงการโอทอป จะเป็นการกระตุ้นให้ชุมชนและหมู่บ้านพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นประกอบกับการตลาด โดยเลือกผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่นมา 1 ชิ้นจากแต่ละตำบลมาประทับตราว่า "ผลิตภัณฑ์โอทอป" และจัดหาเวทีทั้งในประเทศและระหว่างประเทศเพื่อที่จะประชาสัมพันธ์สินค้าเหล่านี้ ผลิตภัณฑ์โอทอปได้ครอบคลุมผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นอย่างกว้างขวาง ซึ่งได้รวมไปถึงงานหัตถกรรม ผ้าทอ ผ้าไหม เครื่องปั้นดินเผา เครื่องประดับแฟชั่น ของใช้ในครัวเรือน อาหาร สมุนไพร และเครื่องดื่ม

  • ประเภทของผลิตภัณฑ์OTOP มีดังนี้
  1. ประเภทอาหาร - ผลิตผลทางการเกษตรที่บริโภคสด เช่น พืชผัก ผลไม้ เป็นต้น ปละผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูป ทั้งอาหารแปรรูปที่พร้อมบริโภค หรืออาหารแปรรูปกึ่งสำเร็จรูป รวมถึงอาหารแปรรูปที่ใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เช่น น้ำพริก เป็นต้น
  2. ประเภทเครื่องดื่ม -  ผลิตภัณฑ์ประเภทเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เช่น สุราแช่ สุรากลั่น เป็นต้น และไม่มีแอลกอฮอล์ รวมถึงผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มที่พร้อมดื่ม ผลิตภัณฑ์ประเภทชงละลาย ขิงผงสำเร็จรูป และผลิตภัณฑ์ประเภทชง เช่น น้ำผลไม้ น้ำสมุนไพร ชาใบหม่อน ชาจีน เป็นต้น
  3. ประเภทเครื่องแต่งกาย -  ผ้าทอ และผ้าถักจากเส้นใยธรรมชาติ หรือเส้นใยธรรมชาติผสมเส้นใยสังเคราะห์ เช่น ผ้าแพรวา ผ้าถักโครเชท์ เป็นต้น ผลิตภัณฑ์ประเภทเสื้อผ้า เครื่องประดับตกแต่งร่างกายจากวัสดุทุกประเภท เช่น ผ้าพันคอ หมวก กระเป๋า เข็มขัด สร้อยคอ ต่างหู รองเท้า
  4. ประเภทของใช้และของประดับตกแต่ง -  ผลิตภัณฑ์ประเภทเครื่องเรือน เครื่องใช้สำนักงาน เครื่องตกแต่งบ้าน เครื่องใช้สอยต่างๆ รวมทั้งผลิตภัณฑ์ในกลุ่มจักรสาน, ถักสานที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการใช้สอย เช่น โต๊ะ เก้าอี้ ดอกไม้ประดิษฐ์ เป็นต้น
  5. ประเภทศิลปะประดิษฐ์และของที่ระลึก -   สิ่งที่สะท้อน วิถีชีวิต ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมท้องถิ่น
  6. ประเภทสมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร - ผลผลิตจากธรรมชาติที่ไม่ใช่การบริโภค เช่น เครื่องสำอางค์สมุนไพร สบู่สมุนไพร น้ำมันหอมระเหย เป็นต้น
ที่มา: ประเภทของผลิตภัณฑ์ OTOP

Saturday 20 September 2014

สรุปผลการเรียนรู้ และกิจกรรมในห้องเรียน

21/9/2557 (สัปดาห์ที่5)

แต่ละกลุ่มนำเสนอรูปแบบPackaging Productของแต่ละบุคคล โดยรวมแล้วการสร้างสรรค์งานยังพบปัญหาดังนี้
  1. การวัดขนาดผลิตภัณฑ์ไม่สมส่วนกับบรรจุภัณฑ์
  2. การบันทึกสกุลไฟล์ผิดพลาด ในส่วนArtwork
  3. ยังไม่มีการออกแบบบรรจุภัณฑ์อย่างสร้างสรรค์
  4. ขาดการคาดคำนวนถึงหลักการใช้งานจริง และตอบสนองการใช้งานของผู้บริโภค
การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ขั้นต่อไปคือ
  • ออกแบบบรรจุภัณฑ์สินค้าจำนวน 3 แบบ พร้อมใส่รายละเอียดสินค้าให้ครบถ้วน นำเสนอต่ออาจารย์ผู้สอนสัปดาห์ถัดไป(28/9/2557)พร้อมไฟล์Artwork
________________________________________________________________

14/9/2557 (สัปดาห์ที่4)

นำข้อมูลที่ลงพื้นที่สำรวจเก็บข้อมูล มาถ่ายทอด แตกแยกประเด็นทีละส่วน ให้ครอบคลุมและตอบโจทย์ของผู้ประกอบการ วิเคราห์จุดอ่อน จุดแข็ง พร้อมระบุแนวทางแก้ไข พร้อมแบบSketch form โดยUpdate ลง Blogของตนเอง Shareรายงานใส่Google drive และClaroline พร้อมใส่แฟ้มรายงานนำเสนออาจารย์ในคาบเรียนถัดไป(21/9/2557) 
  • จัดแจงทำรายงานการบ้านที่ต้องรับผิดชอบ ติดตามการแจ้งข่าวสารที่www.clarolinethai.info
  • เริ่มดำเนินการทำงานตามSWOT Analysis (ขึ้นส.2)
Interest Links:
*งานชิ้นนี้จะสิ้นสุดวันที่ 28/9/2557
________________________________________________________________

4/9/2557 (สัปดาห์ที่3)

  • รายงานข่าวสารแปล-สรุป หน้าชั้นเรียน (1.5/3)
  • ติดตามการทำงานแต่ละกลุ่ม แต่ละผลิตภัณฑ์ที่บุลคลรับผิดชอบ 
  • Check Solution - มีปัญหาอะไรบ้าง จำแนกออกมาให้ชัดเจน (โครงสร้าง,ผลิตภัณฑ์,ซีล,ซอง,ขนาดแต่ละชิ้นส่วน)
  • ติดตามใบงาน,การบ้านผ่าน www.clarolinethai.info
  • สิ่งที่ควรจะมีในการดำเนินการต่อไปคือ ตราสัญลักษณ์ Logo+Artwork จังหวัดชัยนาท,Otop รวมถึงตราสัญลักษณ์ผลิตภัณฑ์กลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่รับผิดชอบ
  • ตรวจสอบตัวอักษรที่ใช้ว่าติดลิขสิทธิ์หรือไม่
  • แนวทางการแก้ปัญหาบรรจุภัณฑ์ และการพัฒนา
  • เพิ่มGimmick Product,Grephic Design
  • สร้างสรรค์ชิ้นงานเพื่อรองรับAEC
ข้อมูลอ้างอิง:
3.ตราสัญลักษณ์ประจำกลุ่มแม่บ้านท่าทราย
________________________________________________________________

31/8/2557 (สัปดาห์ที่2)

  • รายงานข่าวสารเกี่ยวกับการออกแบบกราฟิกบนบรรจุภัณฑ์หน้าชั้นเรียน โดยเรียงตามเลขที่ คนละ1ข่าว จำนวน3คน โดยนำเสนอผ่านบลอกของตนเอง 
  • ทดสอบPre-Test ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการออกแบบกราฟิกบนบรรจุภัณฑ์ (ผลคะแนนที่ได้ 26/40) เวลาการทำแบบทดสอบ30นาที
  • แต่ละกลุ่มนำเสนอผลิตภัณฑ์Otopจังหวัดชัยนาทที่หามาได้แก่อาจารย์ผู้สอน โดยกลุ่มiherbไม่สามารถค้นหาผลิตภัณฑ์ตามคำสั่งของอาจารย์ผู้สอนได้
    กลุ่มที่4 iherb

ดังนั้นอาจารย์ผู้สอนจึงให้โอกาสแก้ตัว หาผลิตภัณฑ์พร้อมข้อมูลสินค้ามาทำการวิจัยในเบื้องต้นตามรูปแบบที่อาจารย์แจกให้

________________________________________________________________

 24/8/2557 (สัปดาห์ที่1)

อาจารย์ผู้สอนแนะนำการเรียนรู้ในรายวิชา ระบบการทำงาน รวมถึงระเบียบการเข้าชั้นเรียน

  • ก่อนเริ่มชั้นเรียนต้องทำการรายงานข่าวสารเกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์(เนื้อหาภาษาอังกฤษ) แปล และสรุป รายงานหน้าชั้นเรียนทุกครั้ง คนละ 3 ข่าว นำเสนอผ่านBlogspotของตนเอง เริ่มตั้งแต่สัปดาห์หน้า (3 คะแนน)
  • Update Blogของตนเองให้เป็นปัจจุบัน มีข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์ และสรุปผลการเรียนรู้ในชั้นเรียนทุกครั้ง
  • จะมีการทดสอบความรู้ก่อนเรียนในคาบเรียนหน้า(31 สิงหาคม 2557)
  • แบ่งกลุ่มทำงาน และเริ่มค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าOtop จังหวัดชัยนาท


ช่องทางติดต่อกับอาจารย์ผู้สอน อีเมลล์ prachid2009@gmail.com และผ่านทางGoogle+

สัปดาห์หน้า (31/8/2557)
1. นำผลิตภัณฑ์Otopของจังหวัดชัยนาทมาคนละ1ชิ้น
2. เตรียมอุปกรณ์การเรียนให้พร้อมสำหรับการทำงาน อาทิเช่น ดินสอ2B,ไม้บรรทัด,คัทเตอร์/กรรไกร,แผ่นรองตัด,แฟ้มขนาดA4 สำหรับใส่ชิ้นงาน และอุปกรณ์อื่นๆที่จำเป็น

________________________________________________________________


Saturday 6 September 2014

การออกแบบพัฒนากราฟิกบนบรรจุภัณฑ์ แชมพูสมุนไพรว่านหางจระเข้ผสมมะกรูด บ้านท่าทราย จังหวัดชัยนาท

ส1.การสืบค้นข้อมูล (Research)
ขั้นตอนการสืบค้นข้อมูลเบื้องต้น (Preliminary Research) แบบมีส่วนร่วมระหว่างทีมนักศึกษาผู้ออกแบบ กับผู้ประกอบการ โดยใช้แบบสอบถามและแบบสรุป-สัมภาษณ์ ทำการวินิจฉัยเพื่อให้ได้ทราบสภาพปัจจุบันและปัญหา จุดอ่อน-จุดแข็ง จุดเด่นของผลิตภัณฑ์และบริการ เพื่อได้ทราบความต้องการ และแนวทางเพื่อการออกแบบพัฒนา (Research for Design  Briefs and Development Solutions)


ภาพที่1 Moodboard เพื่อสรุปประเด็นการออกแบบครอบคลุมกระบวนการผลิตจริง
ที่มารูปภาพ: นางสาวชลลดา เปลี่ยนแสงศรี กลุ่ม iherb ,2557

การสืบค้นข้อมูลประกอบการนำเสนอการออกแบบพัฒนา

ภาพที่2 ผลิตภัณฑ์สินค้าแชมพูสมุนไพรสูตรว่านหางจระเข้ผสมมะกรูด รุ่นแบบเดิม ที่เลือกนำมาพัฒนาบรรจุภัณฑ์

1. ข้อมูลพื้นฐาน

ผู้ประกอบการ: กลุ่มแม่บ้านท่าทราย
ประธานกลุ่ม: นางปาน เอี่ยมสุภา
ที่อยู่: 169 หมู่1 ตำบลบางหลวง อำเภอสรพพยา จังหวัดชัยนาท 17150
เบอร์โทรศัพท์: 056 401 004
สินค้าOTOPประเภท: ประเภทสมุนไพรที่ไม่ใช่อาหารและยา
ชนิดของสินค้า: ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางค์ผสมสมุนไพร
-แชมพูสมุนไพร ว่านหางจระเข้ผสมมะกรูด
ประเภทเครื่องสำอางค์: สำหรับศรีษะ
สถานะของผลิตภัณฑ์: แชมพูสมุนไพร มีสถานะเป็นของเหลว
บรรจุภัณฑ์:
แชมพูเนื้อใสโปร่งแสงบรรจุในขวดพลาสติก(HDPE)ทรงสูงแบน สีขาวขุ่น ฝาเกลียวชนิดหมุน 
เส้นผ่าศูนย์กลาง 3.5 ซม. กว้าง 8 ซม. สูง19.5ซม.
ฉลากด้านหน้า ระบุ:
บ้านท่าทราย
แชมพูผสมสมุนไพรว่านหางจระเข้ผสมมะกรูด
ฉลากด้านหลัง ระบุ:
แชมพูผสมสมุนไพรว่านหางจระเข้ผสมมะกรูด
วิธีใช้ เพียงสระให้ทั่วแล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาด สระได้ตามความต้องการ
ส่วนผสม ว่านหางจระเข้ มะกรูด ลาโนลีน
ผลิตโดย กลุ่มแม่บ้านท่าทราย หมู่ที่1 ตำบลบางหลวง อำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท 17150
ปริมาณสุทธิ 300 มล.
ความดี-สรรพคุณ:
เพื่อความสะอาดและสุขภาพที่ดีของเส้นผมและหนังศรีษะทำให้ผมนุ่มสลวย
ดูเงาเป็นธรรมชาติ และหวีจัดทรงง่าย
วิธีใช้ผลิตภัณฑ์:
เพียงสระให้ทั่ว แล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาด สระได้บ่อยครั้งตามความต้องการ
ข้อมูลทั่วไป ประวัติ:
หมู่บ้านท่าทราย ราษฎรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนา เมื่อเสร็จสิ้นฤดูทำนา
จีงเกิดการว่างงาน ซึ่งในเวลานั้น หน่วยงานราชกาารได้เข้ามาสนับสนุน
การส่งเสริมอาชีพในหมู่บ้าน โดยจัดตั้งกลุ่มแม่บ้านขึ้นในปี พ.ศ.2553 มีสมาชิก
แรกเข้าเพียง 20 คน และมีการส่งเสริมพัฒนาขึ้นจนในปัจจุบันมีสมาชิกกว่า 200 คน
ข้อมูลการผลิตสินค้า:
แรกเริ่มผลิตแชมพู และครีมนวดผมว่านหางจระเข้ผสมสมุนไพรต่างๆ เช่น
มะกรูด อัญชัน และประคำดีควาย ต่อมาได้มีการเพิ่มผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง
ชนิดอื่นๆด้วย คือครีมอาบน้ำผสมสมุนไพรขมิ้น ครีมทาผิวผสมสมุนไพรขมิ้น
และผลิตภัณฑ์ล่าสุดที่กลุ่มแม่บ้านเริ่มผลิตและจำหน่ายคือสบู่รังไหม

2. ข้อมูลการตลาดของสินค้า

2.1 การจำหน่ายผลิตภัณฑ์ และการผลิตในปัจจุบัน:
- วางเรียงจำหน่าย ณ ที่ทำการกลุ่มแม่บ้านท่าทราย
- จำหน่ายตามร้านค้าทั้งไปภายในจังหวัด
- จำหน่ายตามการสั่งซื้อทาง รสพ. และพัสดุไปรษณีย์
- ออกร้านตามงานสำคัญต่างๆที่หน่วยงานราชการและภาคเอกชนขัดขึ้น
- ผลิต สั่งทำ จัดส่ง และจัดจำหน่าย
2.2 ราคาจำหน่าย:
- ขายปลีก ราคาขวดละ 45 บาท
- ขายส่ง(12ขวด) ราคาขวดละ 40 บาท  

3. ปัจจุบันสภาพ/ปัญหาที่เกิดขึ้น/ความต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์

3.1 สภาพปัจจุบัน/ปัญหาที่เกิดขึ้น/อุปสรรคที่พบปัจจุบัน
- สินค้ามีคุณภาพ เป็นที่รู้จัก และวางจำหน่ายมายาวนานกว่า 20 ปี
- ว่างหางจระเข้สามารถปลูกได้น้อยลงเนื่องจากประสบปัญหาอุทกภัยในปีพ.ศ 2554
- ต้องการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ให้ผู้พบเห็นเกิดความสนใจมากยิ่งขึ้น
3.2 ผลิตภัณฑ์คู่แข่งทางการค้าในพื้นที่
- แชมพู ครีมนวดผม ครีมอาบน้ำ สมุนไพรของกลุ่มแม่บ้านสวนลำไย (ผลิตตามเทศกาล)
3.3 ความต้องการในการออกแบบพัฒนา ผลิตภัณฑ์เดิม / สร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ / บรรจุภัณฑ์
เดิมรูปแบบบรรจุภัณฑ์ใหม่ กราฟิกอัตลักษณ์ เช่น โลโก้ ภาพประกอบ การโฆษณา ฯลฯ
- ต้องการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ให้สวยงามมากขึ้น โดยคงโลโก้ต้นฉบับ และมีต้นทุนการผลิตเท่าเดิม

4.บรรจุภัณฑ์ที่มอบให้ทำงาน เพื่อทำการศึกษา วิเคราะห์ วิพากย์ วิจารณ์
และศึกษาเป็นต้นแบบ คือ
4.1 โครงสร้าง (Structure) ตัวอย่างผลิตภัณฑ์จริง
- แชมพูผสมสมุนไพรว่านหางจระเข้ผสมมะกรูด(แบบเดิม) 1 ขวด
- แชมพูผสมสมุนไพรว่านหางจระเข้ผสมมะกรูด(แบบใหม่) 1 ขวด
4.2 ข้อมูลที่ได้มาเพื่อทำการศึกษาต่อ
- หนังสือคู่มือ 1 เล่ม

ภาพที่3 การลงพื้นที่สำรวจ และบันทึกข้อมูลผลิตภัณฑ์แชมพูสมุนไพรของกลุ่มแม่บ้านท่าทราย
(ที่มา: ชลลดา เปลี่ยนแสงศรี กลุ่มiherb,2557)

ภาพที่4 สมาชิกกลุ่มiherbถ่ายภาพร่วมกับสมาชิกกลุ่มแม่บ้านท่าทราย
(ที่มา: ชลลดา เปลี่ยนแสงศรี กลุ่มiherb,2557)

ภาพที่5 สมาชิกกลุ่มiherb ถ่ายภาพร่วมกันประธานกลุ่มแม่บ้านท่าทราย พร้อมผลิตภัณฑ์
(ที่มา: ชลลดา เปลี่ยนแสงศรี กลุ่มiherb,2557)


ส2.สร้างสรรค์ตามสมติฐาน(Resume)

การวิเคราะห์ข้อมูลผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ด้วยวิธีการสังเกตและรับรู้ทางการมอง
(Product and Package Visual Analysis)

ภาพที่6 ส่วนประกอบของบรรจุภัณฑ์สินค้าที่มองเห็นของแชมพูสมุนไพร ว่านหางจระเข้ผสมมะกรูด ตราบ้านท่าทราย
ที่มา: ชลลดา เปลี่ยนแสงศรี,2557
(ด้านหน้า)
หมายเลข1 คือ โครงสร้างของบรรจุภัณฑ์ ในที่นี้คือวัสดุที่เป็นขวดพลาสติกชนิดขุ่น(HDPE)
หมายเลข2 คือ ระบบการเปิดปิดขวดบรรจุภัณฑ์โดยฝาเกลียวหมุน
หมายเลข3 คือ เทคนิคการประทับอัตลักษณ์สินค้า และข้อความบนบรรจุภัณฑ์เพื่อการสื่อสาร
หมายเลข4 คือ อัตลักษณ์สินค้า
หมายเลข5 คือ ข้อความแสดงชื่อยี่ห้อสินค้า
หมายเลข6 คือ ข้อความบ่งชี้ประเภทของสินค้า
หมายเลข7 คือ ข้อความบ่งชี้ชนิดของสินค้า
(ด้านหลัง)
หมายเลข8 คือ ข้อความบ่งชี้ประเภทของสินค้า
หมายเลข9 คือ ข้อความบ่งชี้ชนิดของสินค้า
หมายเลข10 คือ สื่อรูป-ภาพกราฟิก-ประกอบการสื่อความหมายร่วม
หมายเลข11 คือ วิธีใช้
หมายเลข12 คือ ข้อมูลแจ้งส่วนผสมสำคัญของสินค้า
หมายเลข13 คือ สื่อรูป-ภาพกราฟิก-ประกอบการสื่อความหมายร่วม
หมายเลข14 คือ ข้อมูลแจ้งเกี่ยวกับผู้ผลิตสินค้า
หมายเลข15 คือ ปริมาตร-น้ำหนักสินค้า

ส2.สรุปผลการออกแบบ(Result)

ภาพที่7 ภาพการแสดงงานพร้อมผลงานจริงการออกแบบพัฒนากราฟิกบนบรรจุภัณฑ์
แชมพูสมุนไพรว่านหางจระเข้ผสมมะกรูด บ้านท่าทราย จังหวัดชัยนาท
โดย นางสาวชลลดา เปลี่ยนแสงศรี

ภาพที่8 ภาพแผนผังสรุปการดำเนินงานการออกแบบพัฒนากราฟิกบนบรรจุภัณฑ์
แชมพูสมุนไพรว่านหางจระเข้ผสมมะกรูด บ้านท่าทราย จังหวัดชัยนาท
โดย นางสาวชลลดา เปลี่ยนแสงศรี




แปล/สรุปข่าวสารเกี่ยวกับการออกแบบกราฟิกบนบรรจุภัณฑ์

Bottlass - Bottle & Glass Dual Container
Bottlass1.jpg
Innovative Design Service, Inc. produced Bottlass, a sleek, dual beverage container and storage unit manufactured in Korea.

Bottlass3.jpg
"A revolutionary new container concept that will change the trend for the liquor and beverage industry. Just flip it upside down, drink and transform any place into your own. Have it in a can, glass/plastic bottle or any way in any environment."

Bottlass2.jpg

The design, produced in aluminum and glass features a polygonal shape, which narrows to a connection unit that forms the base of the container. A sealing material is adhered to the front end of the main body, in which the cap is fastened. Connection units are coupled to each other by screw tab joining or forced insertion.



Bottlass7.jpg
Designed by: Innovative Design Service, Inc.
Country: United States

Translate (Via Google Translate)
บริษัท Innovative Design Service ผู้ออกแบบนวัตกรรม Bottlass ในประเทศเกาหลี
“นี่คือแนวคิดปฏิวัติภาชนะใหม่ ที่จะเปลี่ยนแนวโน้มสำหรับการดื่มสุรา และวงการอุตสาหกรรมเครื่องดื่ม เพียงแค่กลับด้านมัน ก็สามารถดื่มได้ในทุกที่ ที่คุณต้องการ ซึ่งมันสามารถอยู่ในกระป๋อง แก้ว ขวดพลาสติก ในทุกที่่ ทุกสภาพแวดล้อม”
การออกแบบผลิตภัณฑ์นี้ ถูกสร้างจาก อลูมิเนียม และแก้วที่มีรูปทรงโค้งเว้า ซึ่งจะแคบลงตามรูปทรง และเชื่อมต่อกับฐานบรรจุ มีวัสดุปิดผนึกที่ยึดติดกับปลายด้านหน้าของตัวบรรจุภัณฑ์ และมีฝาสำหรับเปิดขึ้น
(แปล/เรียบเรียง: Chollada Pliensangsri)

Saturday 30 August 2014

การบ้านสัปดาห์ที่ 1-2


ส.1 การสืบค้น

- Packaging Design Meaning...  

1. "Planning and fashioning the complete form and structure of a product's package. In creating a new design or revamping an existing design, the following aspects of a product's package are usually reviewed: size and shape, color, closure, outside appearance, protection and economy, convenience, labeling, and the packaging material's effect on the environment." 

(ที่มา: http://www.allbusiness.com/glossaries/package-design/4956697-1.html)

แปล (Via Google Translate): การวางแผนและการสมัยนิยมรูปแบบที่สมบูรณ์และโครงสร้างของแพคเกจของผลิตภัณฑ์ ในการสร้างการออกแบบใหม่หรือการแก้ไขปรับปรุงการออกแบบที่มีอยู่ด้านต่อไปนี้ของแพคเกจของผลิตภัณฑ์มักจะทบทวนขนาดและรูปร่างสีการปิดลักษณะภายนอกการป้องกันและเศรษฐกิจ, ความสะดวกสบาย, การติดฉลากและมีผลบังคับใช้วัสดุบรรจุภัณฑ์ที่มีต่อสิ่งแวดล้อม


2. "The wrapping material around a consumer item that serves to contain, identify, describe, protect, display, promote and otherwise make the product marketable and keep it clean"

(ที่มา: http://www.entrepreneur.com/encyclopedia/packaging)

แปล (Via Google Translate) :วัสดุห่อรอบรายการของผู้บริโภคที่ให้บริการจะมีการระบุอธิบายปกป้องหน้าจอส่งเสริมและอื่นๆ ทำให้ผลิตภัณฑ์ของตลาดและให้มันสะอาด